นี่คือตำนานหน้าหนึ่ง ของคนไทย ชายผู้นี้คือ ซิโก้ เกรียติศักดิ์ เสนาเมือง
ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 — ) หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อ ซิโก้ เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยตำแหน่งกองหน้า และเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ คนปัจจุบัน โดยชื่อ ซิโก้ ตั้งชื่อจากชื่อเล่นจริง ๆ ของตนเองว่า "โก้" ตามชื่อ ซิโก้ นักฟุตบอลชาวบราซิลที่มีชื่อเสียง ในสมัยที่เจ้าตัวยังเป็นเด็ก
ประวัติ
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เกิดวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีพี่สาว 2 คน เป็นลูกคนสุดท้อง เริ่มเข้ารับการศึกษาที่ โรงเรียนบ้านหนองแดงจนถึงชั้นป.3 จากนั้นจึงย้ายมาเรียนชั้นป.4 ที่โรงเรียนน้ำพอง (จังหวัดขอนแก่น) จนจบม.6 และย้ายมาเรียนที่กรุงเทพโดยเรียนที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะบริหารการจัดการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จนจบปริญญาตรี
ผู้เล่น
ซิโก้ได้เริ่มเล่นฟุตบอลโดยเป็นตัวแทนของโรงเรียนและเป็นตัวแทนของจังหวัดขอนแก่น ในปี 2533 ขณะที่ศึกษาที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ ได้เป็นตัวแทนทีมชาติชุดเยาวชน แข่งขันที่มาเลเซีย และติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 24
นอกจากนี้ซิโก้ ยังพาทีมชาติไทยคว้าแชมป์กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 17, 18 และ 19 คว้าอันดับที่ 4 ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์สองสมัย คือ ครั้งที่ 13 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่ เกาหลีใต้ เป็นเจ้าภาพ โดยในเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นผู้ยิงประตูขึ้นนำเกาหลีใต้ ก่อนที่ผลจะจบลงด้วยประตูโกลเดนโกล ของธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล เป็นผลทำให้ทีมชาติไทยผ่านทะลุเข้าถึงรอบ 4 ทีมสุดท้าย
ใน พ.ศ. 2545 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เข้าพิธีสมรสกับอัสราภา เสนาเมือง (วุฒิเวทย์) และมีบุตรสาวด้วยกัน 3 คน
ผู้ฝึกสอน
พ.ศ. 2549 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้ทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนเป็นครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม โดยรับหน้าที่ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ฮอง อันห์ ยาลาย ในวีลีก ฤดูกาล 2006
หลังจากที่ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลในปลายปีพ.ศ. 2550 ได้ทำหน้าที่หัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับทีมจุฬาฯ-สินธนา ซึ่งเพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 และนำทีมจบฤดูกาล 2551 ด้วยอันดับที่ 8
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2551 จากผลงานที่ยอดเยี่ยมในการคุมทีมจุฬาฯ-สินธนาทำให้ซิโก้ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่คุมทีมชลบุรี เอฟซีในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2552 โดยพาชลบุรี เอฟซี ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอล เอเอฟซีคัพ แต่ไม่สามารถพาทีมคว้าแชมป์ลีกได้เมื่อจบฤดูกาล โดยจบฤดูกาล 2552 ด้วยตำแหน่งรองแชมป์ เจ้าตัวจึงได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอน
ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากลาออกจากสโมสรชลบุรี เอฟซี ซิโก้ได้กลับไปเวียดนามอีกครั้ง โดยรับหน้าที่คุมทีม ฮอง อันห์ ยาลาย ในวีลีก ประเทศเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 โดยพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับ 7
หลังหมดสัญญาที่เวียดนาม เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้เดินทางกลับมาที่เมืองไทยเพื่อคุมสโมสรฟุตบอลบีบีซียู ในไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2554 โดยสามารถพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 พร้อมคว้าสิทธิเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่น ไทยพรีเมียร์ลีก ได้สำเร็จ
ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2555 ผลงานของสโมสรบีบีซียูบนลีกสูงสุดไม่ค่อยดีนัก โดยชนะเพียงแค่นัดเดียว จาก 10 นัด เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง จึงขอลาออกไปในเดือน พฤษภาคม โดยสโมสรได้ให้อดุลย์ รุ่งเรือง เข้ามาคุมทีมแทน
เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555 หรือ 1 เดือน หลังลาออกจากสโมสรฟุตบอลบีบีซียู ซิโก้ ได้ตัดสินใจรับงานคุมทีมบางกอก เอฟซี ในระดับลีกวัน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในโซนท้ายตาราง และสามารถพาทีมรอดพ้นจากการตกชั้นได้สำเร็จ ด้วยการจบอันดับ 10 ในตารางคะแนน
ต้นปี พ.ศ. 2556 เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่คุมทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ ที่ประเทศพม่า
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทยในการแข่งขันเกมอุ่นเครื่องกับทีมชาติจีน ที่สนามเหอเฝยโอลิมปิกสปอร์ตเซ็นเตอร์ ประเทศจีน จากการแข่งขันครั้งดังกล่าว ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะที่ 5 ประตูต่อ 1 ซึ่งนับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของการชนะทีมชาติจีนได้มากที่สุด
รางวัลในนามทีมชาติไทย
- 2536 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 17 ประเทศสิงคโปร์ (สมัยที่ 1)
- 2537 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ประเทศไทย แชมป์อินดิเพนเด้นท์ ณ ประเทศอินโดนีเซีย
- 2537 แชมป์ฟุตบอลอินดิเพนเด้นท์คัพ ครั้งที่ 7
- 2538 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ประเทศไทย (สมัยที่ 2)
- 2539 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์
- 2540 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย (สมัยที่ 3)
- 2541 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประเทศไทย
- 2542 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน (สมัยที่ 4) และรางวัลดาวซัลโว
- 2543 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 31 ประเทศไทย
- 2543 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย และรางวัล MVP นักเตะทรงคุณค่า
- 2544 เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย
- 2545 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้ (ปูซาน)
- 2545 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์-อินโดนีเซีย
รางวัลในระดับสโมสร
- 2532 แชมป์ ถ้วย ก ธนาคารกรุงไทย
- 2536 แชมป์ ถ้วย ข ธนาคารกรุงไทย
- 2541 แชมป์กีฬากองทัพไทยประจำปี
- 2542 รองแชมป์มาเลเซียซูเปอร์ลีก
- 2543 รองชนะเลิศฟุตบอลดิวิชั่น1 ประเทศอังกฤษ
- 2545 แชมป์เอส.ลีก
- 2546 แชมป์ วี-ลีก : 1
- แชมป์ เวียดนามซูเปอร์คัพ: 1
- 2547 แชมป์ วี-ลีก : 2
- แชมป์ เวียดนามซูเปอร์คัพ: 2
เกียรติประวัติอื่นๆ
- 2530 รางวัลดาวซัลโว ฟุตบอลเขตการศึกษาแห่งประเทศไทย
- 2542 รางวัลดาวซัลโว ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน
- 2543 เกียรติประวัติผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
- 2543 รางวัล MVP นักเตะทรงคุณค่า ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไท
- 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ESPN
- 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ESPN
- 2544 รางวัลดาราเอเชีย
- 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1
- 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น Sanyo
- 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
- 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม
- 2548 รับเข็มเกียรติยศผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม
- 2547-ปัจจุบัน ผู้ให้การสนับสนุนกิจการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
- 2550 รางวัลโล่ห์เกียรติคุณจาก ชมรม "เชียร์ไทย"
- 2551 รางวัลสุดยอดคนต้นแบบ เมืองขอนแก่น
สถิติการยิงประตูในนามทีมชาติซิโก้ติดทีมชาติครั้งแรกในชุดเมอร์ไลออน (Merlion) ที่ประเทศสิงคโปร์ยิงประตูแรกในนามทีมชาติ (ชุดบี) ได้ในวันที่ 9 กันยายน 2536 ทีมชาติไทยชุดบี ชนะโปร์แลนด์ 1-0 และยิงประตูสุดท้ายเมื่อ 26 ธันวาคม 2549 ทีมชาติไทยชุดใหญ่ชนะสิงคโปร์ 2-0 ในรายการคิงส์คัพ ซิโก้ทำแฮตทริกได้รวม4ครั้งในการเล่นทีมชาติไทยทุกชุด (30 กรกฎาคม 2542 ไทยชนะฟิลิปปินส์ 9-0 กีฬาซีเกมส์, 23 มกราคม 2544 ไทยชนะคูเวต 5-4 เกมอุ่นเครื่อง, 28 พฤษภาคม 2544 ไทยชนะปากีสถาน 6-0 คัดบอลโลก, 18 ธันวาคม 2545 ไทยชนะลาว 5-0 ในรายการอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ)
ซิโก้ได้แชมป์กับทีมชาติไทยทุกชุดรวม 10 ครั้ง ได้แก่คิงส์คัพ 2 ครั้ง (2537, 2549) กีฬาซีเกมส์ 4 ครั้ง (2536, 2538, 2540, 2542) อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ) หรือไทเกอร์คัพเดิม 3 ครั้ง (2539, 2543, 2545) อินดิเพนเดนท์ อินโดนีเซีย 1ครั้ง (2537)สถิติการยิงประตูในนามทีมชาติไทยทุกชุดตั้งแต่ปี 2536-2549 ยิงทั้งหมด 100 ประตู นับเฉพาะทีมชาติพบทีมชาติ สถิติจะอยู่ที่ 85 ประตู (รวมทุกชุดได้แก่ชุดใหญ่, ซีเกมส์, โอลิมปิก, เอเซียนเกมส์)หากนับเฉพาะสถิติในนามทีมชาติไทยชุดใหญ่ ฟีฟ่า (FIFA) บันทึกและให้การรับรองว่า เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ติดทีมชาติไทยชุดใหญ่ทั้งสิ้น 130 นัด ยิงได้ 65 ประตู[4] ซึ่งเป็นผู้เล่นที่ยิงได้มากที่สุดของประเทศไทย ตามการจัดอันดับ ดาวซัลโวระดับทีมชาติของ FIFA นัดสุดท้ายที่ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เล่นให้ทีมชาติชุดใหญ่คือ ทีมชาติไทย พบ ทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สนาม สนามศุภชลาศัย ในวันที่ 3 ตุลาคม 2550 ผลจบลงที่เสมอกัน 1-1ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่า เมื่อยิงประตูได้แล้วจะมีท่าแสดงความดีใจ ด้วยการกระโดดตีลังกา จนได้รับฉายาว่า "จอมตีลังกา"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น